วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คอมพิวเตอร์มือใหม่

      ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก เพราะสามารถเก็บบันทึกข้อมูล ใช้ค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำรายงาน สั่งพิมพ์เอกสารรายงาน รูปภาพ เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันแบ่งผู้ใช้ออกได้ 5 กลุ่มคือ
      1. เครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) หรือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เหมาะสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องใช้งานประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว มีความละเอียด สามารถคำนวณโครงสร้างที่มีความซับซ้อน หรืองานวิจัย
      2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เหมาะสำหรับงานทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ ธุรกิจธนาคาร หน่วยงานราชการระดับกระทรวงที่ต้องใช้ในงานทะเบียนราษฎร์ งานประกันสังคม ซึ่งเป็นงานที่มีฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก
      3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เหมาะสำหรับสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา หน่วยงานราชการในระดับกรม
      4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) เหมาะสำหรับใช้งานคนเดียว หรือใช้งานระบบเครือข่ายครั้งละหลาย ๆ คน แบ่งออกได้เป็น 4 แบบ
         4.1 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) มีขนาดเล็ก ถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ และแยกชิ้นส่วนระหว่างซีพียู จอภาพ คีย์บอร์ด
         4.2 แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) มีขนาดเล็ก จอภาพแบนราบชนิดผลึกเหลว
         4.3 โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) เหมาะสำหรับนักบรรยาย หรือผู้ที่ต้องการถ่ายโอนข้อมูลในขณะเดินทาง
         4.4 ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop Computer) ใช้เป็นพจนานุกรม สมุดบันทึกการนัดหมายเหมาะสำหรับนักธุรกิจหรือผู้ที่ต้องติดต่อกับลูกค้าเป็นประจำ
ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
      1. หน่วยประมวลผลหลัก (CPU) ทำหน้าที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูล การอ่าน การคำนวณ การแปลค่าสัญญาณต่าง ๆ
      2. เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นอุปกรณ์หลักเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูล
      3. หน่วยความจำ (RAM) ทำหน้าที่เก็บและพักข้อมูลที่รอการประมวลผล หรือประมวลผลเสร็จแล้ว
      4. ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นแหล่งเก็บข้อมูลหลัก ถ้ามี ความจุสูงจะเก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก
      5. กราฟิกการ์ด (VGA Gard) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลภาพออกทางจอแสดงผล
      6. การ์ดเสียง (Sound Card) ใช้แสดงผลทางด้านมัลติมีเดีย
      7. ไดร์ฟ (Drive) ใช้ในการอ่านแผ่นข้อมูล
      8. จอมอนิเตอร์ (Monitor) เป็นจอสำหรับใช้แสดงผลข้อมูล
      9. เคส (Case) ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ
     10. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) ทำหน้าที่ในการจ่ายไฟฟ้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ
     11. โมเด็ม (Modem) เป็นตัวแปลงสัญญาณโทรศัพท์ ใช้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
     12. เมาส์ (Mouse) ใช้สำหรับเลือกดูข้อมูลบนจอแสดงผล
     13. แผงแป้นอักขระ (Keyboard) ใช้สำหรับพิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการ
     14. ลำโพง (Speaker) ใช้สำหรับฟังเสียง
     15. ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นระบบการจัดการของระบบนั้น ๆ เช่น Windows 98se, ME, XP, 2000, Linux
อุปกรณ์ประกอบ
       1. เครื่องพิมพ์ (Printer) ใช้สำหรับงานพิมพ์เอกสาร รูปภาพ หรือทำสำเนาต่าง ๆ
       2. เครื่องสแกน (Scanner) ใช้สำหรับสแกนภาพหรือวัตถุ 2 มิติ หรือ 3 มิติ
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
       1. ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มียี่ห้อ และมีสติกเกอร์ 3 มิติติดอยู่ที่ตัวเครื่อง ซึ่งได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ จะมีคุณภาพตามมาตรฐาน มีการบริการหลังการขาย การรับประกัน บางบริษัทจะบริการส่งถึงบ้าน หากเครื่องเสียมีบริการส่งช่างไปซ่อมถึงที่ หรือมีการฝึกอบรมโปรแกรมสำหรับผู้ซื้อเครื่องด้วย แต่มีราคาสูง ไม่สามารถเลือกสเป็ค ยี่ห้อและอุปกรณ์ที่ต้องการได้ รวมทั้งต้องรอการสั่งเครื่องเป็นเวลานาน
        2. ซื้อเครื่องที่สั่งประกอบ สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ หรือปรับเปลี่ยนสเป็ค และยี่ห้อได้ตามต้องการ มีราคาถูก การรับประกันและการบริการขึ้นอยู่กับทางร้าน แต่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการประกอบเครื่องที่ไม่เรียบร้อย ลงโปรแกรมไม่สมบูรณ์ อาจได้อุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพหรือของปลอม หากเครื่องเสียต้องไปหาช่างซ่อมเอง
        3. ซื้อเครื่องมาประกอบเอง สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ หรือปรับเปลี่ยนสเป็ค และยี่ห้อได้ตามต้องการ มีราคาถูก การรับประกันและการบริการขึ้นอยู่กับทางร้าน แต่ต้องเป็นผู้มีความรู้ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สามารถลงโปรแกรมต่าง ๆ เองได้ เพราะถ้าไม่มีความชำนาญด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะได้ของที่ไม่มีคุณภาพหรือของปลอม หากเครื่องเสียต้องไปหาช่างซ่อมเอง
การดูสเป็คเครื่องคอมพิวเตอร์
       ปกติแล้วใบเสนอราคาจะมีรายละเอียดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนี้
      - Intel Pentium III 650 MHz หมายถึง ซีพียูของอินเทล รุ่นเพนเทียมทรี ความเร็ว 650 เมกะเฮิร์ตช์
      - SDRAM 64 MB PC 100 MHz หมายถึง แรมขนาด 64 เมกะไบต์ ทำงานที่ความเร็ว 100 เมกะเฮิร์ตช์
       - HDD 8.4 GB Ultra DMA (3 Year Wrranty) หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ขนาด 8.4 จิกะไบต์ ชนิดอุลตร้า ที่มีความเร็วในการถ่ายเทข้อมูล 66 เมกะไบต์ และรับประกัน 3 ปี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น